2558-06-15

๓๑ อริยมรรคมีองค์แปด

เสียงพระสวด


เสียงอ่านผู้หญิง


(หันทะ มะยัง อะริยัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง ภะณามะ เส)
ขอเชิญ เราทั้งหลาย จงสวดหนทางอันประเสริฐซึ่งประกอบด้วยองค์แปดเถิด

(มรรคมีองค์ ๘)
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค
หนทางนี้แล เป็นหนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด

เสยยะถีทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

สัมมาทิฏฐิ
ความเห็นชอบ

สัมมาสังกัปโป
ความดำริชอบ

สัมมาวาจา
การพูดจาชอบ

สัมมากัมมันโต
การทำการงานชอบ

สัมมาอาชีโว
การเลี้ยงชีวิตชอบ

สัมมาวายาโม
ความพากเพียรชอบ

สัมมาสะติ
ความระลึกชอบ

สัมมาสะมาธิ
ความตั้งใจมั่นชอบ

<<<<<>>>>>

(องค์มรรคที่ ๑)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นชอบ เป็นอย่างไรเล่า

ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้อันใด เป็นความรู้ในทุกข์

ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง
เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์

ทุกขะนิโรเธ ญาณัง
เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์

ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณัง
เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ

<<<<<>>>>>

(องค์มรรคที่ ๒)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริชอบ เป็นอย่างไรเล่า

เนกขัมมะสังกัปโป
ความดำริในการออกจากกาม

อะพ๎ยาปาทะสังกัปโป
ความดำริในการไม่มุ่งร้าย

อะวิหิงสาสังกัปโป
ความดำริในการไม่เบียดเบียน

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ

<<<<<>>>>>

(องค์มรรคที่ ๓)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพูดจาชอบ เป็นอย่างไรเล่า

มุสาวาทา เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง

ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด

ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ

สัมผัปปะลาปา เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา
ดูก่อนภิกษุทั้งหาย อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ

<<<<<>>>>>

(องค์มรรคที่ ๔)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำการงานชอบ  เป็นอย่างไรเล่า

ปาณาติปาตา เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า

อะทินนาทานา เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว

กาเมสุ มิจฉาราจา เวระมะณี
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
ดูก่อนภิกษุทั้งหาย อันนี้เรากล่าวว่า การทำการงานชอบ

<<<<<>>>>>

(องค์มรรคที่ ๕)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีพชอบ เป็นอย่างไรเล่า

อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกของพระอริยเจ้า ในธรรมวินัยนี้

มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ
ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย

สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ
ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหาย อันนี้เรากล่าวว่า การเลี้ยงชีพชอบ

<<<<<>>>>>

(องค์มรรคที่ ๖)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพากเพียรชอบ เป็นอย่างไรเล่า

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกขุในธรรมวินัยนี้

อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณ๎หาติ ปะทะหะติ
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น

อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหานายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณ๎หาติ ปะทะหะติ
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังละอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว

อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง อุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณ๎หาติ ปะทะหะติ
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น

อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา อะสัมโมสายะ ภิยโยภาวายะ เวปุลลายะ ภาวะนายะ ปาริปูริยา ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณ๎หาติ ปะทะหะติ
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม
ดูก่อนภิกษุทั้งหาย อันนี้เรากล่าวว่า ความพากเพียรชอบ

<<<<<>>>>>

(องค์มรรคที่ ๗)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความระลึกชอบ เป็นอย่างไรเล่า

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกขุในธรรมวินัยนี้

กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชณาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้

เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
ย่อมเป็นผู้พิจาณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชณาโทมะนัสสัง
มีความเพียร เครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้

จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ

อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้

ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ

อาตาปิ สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ

<<<<<>>>>>

(องค์มรรคที่ ๘)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไรเล่า

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกขุในธรรมวินัยนี้

วิวิจเจวะ กาเมหิ
สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย

วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ
สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย

สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัง ปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากการวิเวก แล้วแลอยู่

วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา
เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง

อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง สะมาธิชัง ปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่

ปีติยา จะ วิราคา
อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ

อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ สัปะชาโน
ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ

สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย

ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารี ติ
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหมาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า "เป็นผู้อยู่ อุเบกชา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข" ดังนี้

ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่

สุขัสสะ จะ ปะหานา
เพราะละสุขเสียได้

ทุกขัสสะ จะ ปะหานา
และเพราะละทุกข์เสียได้

ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา
เพราะความดับไปแห่งโสมนัส และโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน

อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหาย อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ

๒๖ บทพิจารณาสังขาร


(ทุกเวลาทำวัตรเช้าและเวลาเข้านอน)

สัพเพ สังขารา อะนิจา
สังขารคือร่างกายจิตใจ แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป

สัพเพ สังขารา ทุกขา
สังขารคือร่างกายจิตใจ แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นทุกข์ทนยาก เพราะเกิดขึ้นแล้ว แก่ เจ็บ ตายไป

สัพเพ ธัมมา อะนัตตา
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขาร แลมิใช่สังขาร ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา

<<<<<>>>>>

อะธุวัง ชีวิตัง
ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน

ธุวัง มะระณัง
ความตายเป็นของยั่งยืน

อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง
อันเราจะพึงตายเป็นแท้

มะระณะปะริ โยสานัง เม ชีวิตัง
ชีวิตของเรา มีความตาย เป็นที่สุดรอบ

ชีวิตัง เม อะนิยะตัง
ชีวิตของเรา เป็นของไม่เที่ยง

มะระณัง เม นิยะตัง
ความตายของเรา เป็นของเที่ยง

วะตะ
ควรที่จะสังเวช

อะยัง กาโย
ร่างกายนี้

อะจิรัง
มิได้ตั้งอยู่นาน

อะเปตะวิญญโณ
ครั้นปราศจากวิญญาณ

ฉุฑโฑ
อันเขาทิ้งเสียแล้ว

อะธิเสสะติ
จักนอนทับ

ปะฐะวิง
ซึ่งแผ่นดิน

กะลังคะรัง อิวะ
ประดุจดังว่าท่อนไม้ และท่อนฟืน

นิรัตถัง
หาประโยชน์มิได้

๒๕ ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ

เสียงพระสวด


เสียงอ่านผู้หญิง

(หันทะมะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส)
ขอเชิญ เราทั้งหลาย จงสวดพระโอวาทครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้าเถิด

หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า

วะยะธัมมา สังขารา
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา
นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้าย ของพระตถาคตเจ้า

๒๔ ปฐมพุทธภาสิตคาถา

เสียงพระสวด


เสียงอ่านผู้หญิง

(หันทะ มะยัง ปะฐะมะพุทธะภาสิตะคาถาโย ภะณามะ เส)
ขอเชิญ เราทั้งหลาย จงสวดคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสครั้งแรกเถิด

อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง
เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นเอนกชาติ

คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน คือตัณหาผู้สร้างภพ การเกิดทุกคราว เป็นทุกข์ร่ำไป

คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ
นี่แน่ะ นายช่างปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำเรือนให้เรา ไม่ได้อีกต่อไป

สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้า เราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว

วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณ๎หานัง ขะยะมัชฌะคา
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป
มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา (คือถึงนิพพาน)

๒๓ โอวาทปาติโมกขคาถา

เสียงพระสวด

เสียงอ่านผู้หญิง

(หันทะ มะยัง โอวาทะหาติโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)
ขอเชิญ เราทั้งหลาย จงสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์เถิด

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
การไม่ทำบาปทั้งปวง

กุสะลัสสูปะสัมปะทา
การทำกุศลให้ถึงพร้อม

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ

เอตัง พุทธานะสาสะนัง
ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
ขันตี คือความอดกลั่น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา
ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง 

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต
การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย

ปาติโมกเข จะ สังวะโร
การสำรวมในปาติโมกข์

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด

อะธิจิตเต จะ อาโยโค
ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง

เอตัง พุทธานะสาสะนัง
ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

๒๒ ธัมมคารวาทิคาถา


(หันทะ มะยัง ธัมมะคาระวาทิคาถาโย ภะณามะ เส)
ขอเชิญ เราทั้งหลาย จงสวดคาถาแสดงความเคารพพระธรรมเป็นอาทิเถิด

เย จะ อะตีตา สัมพุทธา     เย จะ พุทธา อะนาคะตา
โย เจตะระหิ สัมพุทโธ     พะหุนนัง โสกะนาสะโน
พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้วด้วย ที่ยังไม่มาตรัสรู้ด้วย 
และพระพุทธเจ้าผู้ขจัดโศกของมหาชนในกาลบัดนี้ ด้วย

สัพเพ สัทธัมมะคะรุโน     วิหะริงสุ วิหาติ จะ
อะถาปิ วิหะริสสันติ     เอสา พุทธานะธัมมะตา
พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้น ทุกพระองค์ เคารพพระธรรม
ได้เป็นมาแล้วด้วย กำลังเป็นอยู่ด้วย และจักเป็นด้วย
เพราะธรรมดา ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเช่นนั้นเอง

ตัส๎มา หิ อัตตะกาเมนะ     มะหัตตะมะภิกังขะตา
สัทธัมโม คะรุกาตัพโพ     สะรัง พุทธานะสาสะนัง
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้รักตน หวังอยู่เฉพาะพระคุณเบื้องสูง เมื่ระลึกได้ 
ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธจ้าอยู่ จงทำความเคารพพระธรรม

นะ หิ ธัมโม อะธัมโม จะ     อุโภ สะมะวิปากิโน
ธรรม และอะธรรม จะมีผลเหมือนกันทั้งสองอย่าง หามิได้

อะธัมโม นิระยัง เนติ     ธัมโม ปาเปติ สุคะติ
อะธรรม ย่อมนำไปนรก ธรรม ย่อมนำไปให้ถึงสุคติ

ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง
ธรรมแหละ ย่อมรักษา ผู้ประพฤติธรรมเป็นนิจ

ธัมโส สุจิณโณ สุขะมาวะหาติ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ตน

เอสานิสังโส ธัมเม สุจิณเณ
นี่เป็นอานิสงส์ ในแธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว

๒๑ ภัทเทกรัตตคาถา


(หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส)
ขอเชิญ เราทั้งหลาย จงสวดคาถาว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด

อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วยอาลัย และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง

ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง
สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา

ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้

อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญามะระณัง สุเว
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครจะรู้ความตาย แม้พรุ้งนี้

นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีความเสนามาก ย่อมไม่มีสำหรับเรา

เอวังวิหารริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง
ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิ
มุนีผู้สงบ ย่อมกล่าวเรียก ผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น ไม่เกียจคร้าน
ทั้งกลางวันกลางคืน ว่า "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม"